นับเป็นเรื่องที่ค่อยข้างจะปวดหัวกันเลยทีเดียวสำหรับลูกจ้าง อยางเราๆท่านๆ ในวันที่มีกิจธุระจำเป็นจะต้องไปทำ แต่ว่าไม่มีวันลาพักร้อนเหลือแล้ว เราจะใช้ลากิจได้ ไหม มาดูเกี่ยวกับข้อกฎหมายกันก่อน จะมาพูดถึงฝ่ายบุคคลฯ ดีกว่า แต่เดิม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่ได้กำหนดสิทธิวันลากิจธุระจำเป็นขึ้นต่ำเอาไว้ และไม่ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาไว้ในกฎหมาย สุดแท้แต่นายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกัน ทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบนายจ้าง
เมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าอะไรคือลากิจ ก็เป็นแนวทางของแต่ละสถานประกอบการ ดังนี้
* ลาเพราะว่าญาติเสียชีวิต ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่เป็นญาติสนิท เช่นบิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ก็นับเป็นลากิจได้ บางสถานประกอบการก็ไม่ต้องการหลักฐาน บางสถานประกอบการก็ต้องการหลักฐาน เช่น ใบแจ้งเสียชีวิต หรือว่า เอกสารสำเนาทะเบียนบ้านแสดงว่าเป็นญาติกันจริงๆ เป็นต้น
* เมื่อต้องไปปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย มิฉะนั้นอาจได้รับโทษ เช่น กาต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชน การแจ้งเกิดหรือแจ้งตายของบุคคลในทะเบียนบ้าน การยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ไปขึ้นเป็นพยานในศาล เป็นต้น
* เพื่อบรรเทาความเสียหายของครอบครัวอันเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม เป็นต้น
* ลาเนื่องจากเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา
* กรณีอื่นๆ ที่อาจเป็นได้ เช่นแต่งงาน อุปสมบทบุตร โอนกรรมสิทธิที่อยู่ อาศัย รายงานตัวบุตรเข้าโรงเรียน ฯลฯ
สุดท้ายนี้ไม่ว่าลากิจจะคืออะไร ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือว่าลูกจ้าง ทางที่ดีควรเขียนข้อตกลงร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาษในภายหลัง และการลากิจทุกครั้งควรมีหลักฐาน และไม่ลากิจลอยๆ นะครับ
ผีน้อยรายแรกในเกาหลี ติดเชื้อ COVID-19 แล้วหลังพบลักลอบทำงานกับสามี
ไขข้อข้องใจ หากติดเชือไวรัส Covid-19 ใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่
COVID-19 อยู่ในพื้นที่สาธารณะได้นานกี่วัน?