สารโดฟามีน dopamine เป็นสารที่ทำให้เกิดความอยากปกติเมื่อเรามีความรู้สึกอยากร่างกายก็จะหลั่งสารเคมีตัวนี้ออกมากระตุ้นเพื่อให้เราทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยเงื่อนไขคือร่างกาย ต้องได้รับการกระตุ้นซึ่งอาจจะเป็นอาหาร การกระหายน้ำหรือแม้แต่ความต้องการทางเพศ
โอเคเมื่อเราหิวสารโดฟามีนก็จะเริ่มเพิ่มขึ้น เราจะเดินไปร้านอาหารสั่งอาหารที่เราอยากได้กลิ่นอาหารที่แสนจะยับยั้งน้ำลายไว้ไม่อยู่ จะเร่งให้หลั่งสารโดฟามีนมากขึ้น และจะสูงสุดเมื่อเรากินอาหารคำแรก แต่หลังจากที่เรากินคำแรกไปแล้วสารโดฟามินก็จะลดต่ำลง และเมื่อเรากินอิ่มสารโดฟามินก็จะกลับสู่สภาวะปกติ เป็นเหมือนกราฟระฆังคว่ำ
การคิดเรื่องอย่างว่า การช่วยตัวเองหรือการมีเพศสัมพันธ์ก็เช่นกัน แต่การถึงจุดสุดยอดไม่ได้เกิดจากโดพามีน แต่เป็นสารอีกตัวหนึ่งคือ โอพิเอต OPiate พูดง่ายๆ ไอ้สารโดพามีนเนี้ย เหมือนคนขับรถtaxi พาเราไปยังจุดหมาย ส่วนโอพาเอตรับหน้าที่ต่อ
สรุปคือโดพามีนคือตัวสร้างความอยากให้เราไปถึงจุดหมาย
กลับมาดูการทดลองที่ห้องlab นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองกับหนู โดยให้หนูตัวผู้ที่กำลังคึก เจอกับหนูตัวเมีย ตัวที่1 หลังจากมันอึ๊บตัวเมีย ไปหลายที ความต้องการในตัวเมียจะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งมันเหนื่อยมันก็จะหยุดกิจกรรมนั้นเอง และเมื่อเราเอาตัวเมียตัวที่สองมา แรงกระตุ้นก็จะเริ่มใหม่อีกครั้ง
กลับมาที่ห้องของเรานึกภาพตอนเราเปิดหนังโป๊ วีดีโอโป๊ ครั้งแรกจัดการตัวเองจนเสร็จ แต่เมื่อเราคลิ๊กดูวีดีโอโป๊อันใหม่ กระปู๋ของเราก็จะโด่ขึ้นมาอีกครั้ง พอเราเหนื่อยเราก็จะหลับไป
เอาละถ้าคุณเสพยามันจะให้ผลเหมือนกัน แต่แตกต่างกันนิดหน่อย คือมันมีสารที่ทำให้ระดับโดพามีน คงอยู่แทนที่จะกลับสู่สภาวะปกติ ทำให้ความอยากไม่สิ้นสุด
นักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองกับหนู โดยต่อสายไฟกระตุ้นให้สมองหนูหลั่งสารโดพามีนทันทีเมื่อมันกดปุ่มในกรงที่มันอยู่ ทายสิว่าเกิดอะไรขึ้น ต่อจากนั้นหนูจะกดปุ่มนั้นต่อไปเรื่อยๆ เป็นร้อย เป็นพันครั้ง มันจะไม่กินไม่นอน ไม่ต้องการมีเซ็กกับหนูตัวเมีย และแทบไม่สนใจสิ่งรอบข้าง พอจะเห็นภาพความรุนแรงของยาเสพติดหรือยัง
เอาหนูตัวเดิมมาจังไว้ในกรงแต่เพิ่มอุปสรรคด้วยตะแกรงไฟฟ้า เมื่อมันเดินผ่านจะถูกไฟฟ้าช๊อต ด้านตรงข้ามคือสวิตช์กดปุ่มกดกระตุ้นกระแสไฟฟ้าเพื่อให้สมองหลั่ง โดพามีน ในตอนแรกหนูจะไม่ข้ามฝั่งไปเพราะ ว่าโดนไฟฟ้าช็อตแต่สักพักมันจะฝืนยอมโดนไฟฟ้าช็อตเพื่อไปกดปุ่มให้สมองได้รับสารโดพามีนอีกครั้ง
อาล่ะถ้าเราเอาปุ่มกดออกเอาสายไฟฝาครอบสมองออก และใช้หนูตัวเดิมแต่เอาอาหารไปวางไว้ฝั่งตรงข้ามแทนดูสิว่ามันจะเดินข้ามตะแกรงไฟฟ้า เพื่อไปเอาอาหารโดยยอมถูกไฟฟ้าช็อตหรือไม่ คำตอบคือมันไม่ยอมไปยอมอดอาหารจนตาย
ถ้าหากเราเอาสารโดพามีนออกจากร่างกายด้วยการฉีดยาบางอย่างเพื่อบล็อกสารโดพามีนไม่ให้หลั่งออกมา หนูตัวที่โดนฉีดยาจะนอนเฉยเฉยไม่หาอาหารไม่สนใจตัวเมียจนผอมแต่เมื่อเราอาหารมาให้มันมันก็จะกินแต่มันจะไม่พยายามเดินไปหาอาหารมากินเองเหมือนคนเราเป็นโรคซึมเศร้าต้องจัดการให้เขาได้หลังสารโดพามีนในสมอง จึงทำให้เรามีความแอคทีฟและสามารถก้าวเดินต่อไปได้ยังจุดหมายของชีวิต
บิ๊กตู่ ฮึ่ม !! ปราบผี บอกไร้ความรับผิดชอบ จ่อฟัน กฎหมาย เอาให้หนัก
ไขข้อข้องใจ หากติดเชือไวรัส Covid-19 ใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่
COVID-19 อยู่ในพื้นที่สาธารณะได้นานกี่วัน?